วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ยินดีกับบัณฑิตใหม่ รังสีเทคนิคมหิดล 2553

  บัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดลประจำปีการศึกษา 2553 เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรที่หอประชุมกองทัพเรือ ในวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2554 
     บัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดล เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค ซึ่งภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบในการดำเนินการจัดการศึกษา โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาเป็นเวลา 4 ปี ปีละ 60 คน โดยศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา และวิทยาเขตศิริราช และฝึกงานวิชาชีพรังสีเทคนิคในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลชั้นนำทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครร่วม 20 แห่ง
      หลักสูตรนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2508 ปัจจุบันมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาแล้ว 1,633 คน และในปีการศึกษานี้มีบัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดลจำนวน 63 คน








Related Link:

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จุดเด่น วท.บ.รังสีเทคนิค มหิดล

มุ่งสร้างบัณฑิตเข้าสู่วิชาชีพรังสีเทคนิค ซึ่งเป็นการใช้รังสีทางการแพทย์ทั้งในด้านการวินิจฉัยและรักษาโรค นักศึกษาจะต้องเรียนรู้และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในด้านรังสีวินิจฉัย ด้านรังสีรักษา และด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ในด้านรังสีวินิจฉัยเป็นการใช้รังสีในการวินิจฉัยโรค เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์แบบธรมมดา การเอกซเรย์แบบที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายภาพ 3 มิติของอวัยวะต่างๆ เป็นต้น ด้านรังสีรักษา เรียนการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อรักษาโรค เช่น โรคมะเร็ง ส่วนด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์เรียนการให้สารรังสีเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อถ่ายภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายรวมถึงการรักษาโรค
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขารังสีเทคนิค (ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ และคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ดังนั้น บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วจึงมีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิคได้

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน 2558

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (ASEAN Community 2015) ตะเข็บรอยต่อระหว่างประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะเจือจางลงจนอาจถึงขั้นมองไม่เห็นในอนาคต จะเกิดผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ในส่วนของภาคการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษานั้น ขณะนี้ มีความชัดเจนในแนวนโยบายเกิดขึ้นแล้วจาก สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ)  โดย สกอ.ได้กำหนดเป็น ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558” ไว้ทั้งหมด ยุทธศาสตร์  สรุปได้ดังนี้
      1.การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล กำหนดกลยุทธ์ดังนี้
         1.1พัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้การทำงานได้
         1.2พัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย
      2.การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้
         2.1พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะสากล
         2.2ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา
         2.3พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล
         2.4พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับสากล
         2.5พัฒนาวิชาการและการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ
         2.6พัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งอาเซียน
     3.การส่งเสริมบทบาทอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้
         3.1ส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับสามเสาหลักในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเสาด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
         3.2สร้างความตระหนักในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนและบทบาทของอุดมศึกษาไทยในการพัฒนาประชาคมอาเซียนทั้งในด้านบวกและด้านลบ
         3.3ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
         3.4พัฒนาศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน
     สกอ. ยังได้มีการกำหนดมาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการในแต่ละกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ไว้ด้วย รายละเอียดจะยาวมากเกินไป ขอไม่นำมาเสนอในที่นี้ แต่ท่านสามารถศึกษาต่อได้จากลิงค์ที่อยู่ด้านล่าง
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมีผลทำให้หลายๆภาคส่วน โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ให้สามารถรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น บัณฑิตที่จบออกไปจะต้องเป็นอย่างไร จะมีอัตตลักษณ์เช่นไร จึงจะยืนหยัดได้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ เป็นโจทย์ที่สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ซึ่งรวมถึงสถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิคทุกแห่งต้องเร่งเครื่องอย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็ต้องเร่งมือปรับหลักสูตร ทั้งเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดรับกับสถานะการณ์ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวผมเห็นว่า กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้การทำงานได้ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย อาจทำให้เราเพลิดเพลินไป ฉะนั้นประการหนึ่งที่จะลืมไม่ได้คือ ต้องไม่ลืมเรื่องการปลูกฝังความเป็นไทย ต้องไม่ลืมเน้นการสื่อสารทั้งพูดและเขียนให้ผู้อื่นรู้เรื่อง หากความเป็นไทยเจือจางลงก็เป็นอันตราย หากการพูดและเขียนไม่รู้เรื่องก็เป็นอุปสรรคหรือเป็นพิษต่อการทำงาน

Related Linked:

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่กระทบการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิค พ.ศ. 2555-2559

ในมุมมองของภาควิชารังสีเทคนิค มหิดล มีการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆในภาพกว้าง นอกเหนือจากแนวโน้มความก้าวหน้าของศาสตร์ทางด้านรังสีที่ใช้กับมนุษย์ ที่มีผลกระทบต่อการผลิตบัณฑิตทางด้านรังสีเทคนิค ซึ่งในกระบวนการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคนั้น ใช้ Deming cycle โดยมีการวางแผนงานหรือออกแบบกระบวนการ (P: plan) แล้วนำไปปฏิบัติ (D: do) มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน (C: check) ทบทวนผลที่เกิดว่าเป็นไปตามแผนงานมากน้อยแค่ไหน ตรงตามเป้าหมายไหม มีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงบ้าง ก็จะดำเนินการปรับปรุง (A: act) การดำเนินการเป็นวงรอบไปเรื่อยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (CQI: continuous improvement) ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบของบัณฑิตรังสีเทคนิค ในด้านกระบวนการผลิต อัตตลักษณ์หรือหน้าตาของบัณฑิต มีดังนี้
การประเมินสถาบัน (Accreditation)
ในปี 2551คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ประกาศใช้สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิคอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณวิชาชีพมาก่อนหน้านี้ในปี 2547 แล้ว ต่อมามีการประกาศให้สถาบันผู้ผลิตนักรังสีเทคนิคทุกแห่ง ต้องขอรับการประเมินสถาบัน โดยไม่มีข้อยกเว้น ภายในปี พ.. 2553 ซึ่งภาควิชารังสีเทคนิค มหิดล ได้รับการรับรองเป็นสถาบันแรกตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 และสถาบันที่ได้รับการรับรองต่อๆมาคือ เชียงใหม่ นเรศวร

ในปี 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF:Hed เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ โดยที่กรอบนี้มุ่งเน้นเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ผลการเรียนรู้ (learning outcomes) ของนักศึกษาในแต่ละระดับ ส่งผลกระทบต่อสถาบันผู้ผลิตทุกแห่ง ทุกสาขา รวมทั้งสาขารังสีเทคนิค ในหลายประการ เช่น รายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร เป็นต้น นำไปสู่การปรับหลักสูตรที่มีอยู่ให้สอดคล้องตามกรอบ TQF:Hed .ให้เสร็จภายในปี 2555

ในปี 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ให้สถานศึกษาทุกแห่งทุกระดับเป็น "สถานศึกษา 3ดี (3D)" โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย (Democracy) ด้านคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)

EdPEx หรือ TQA
สำนักงานคณะกรรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศเทียบได้ในระดับสากล จึงนำเครื่องมือคุณภาพ “The Baldrige National Quality Program : Education Criteria for Performance Excellence” หรือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)” เข้ามาใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการ โครงการนำร่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) ” และสกอ. ได้เชิญชวนให้มหาวิทยาลัยพิจารณาเข้าร่วมโครงการ EdPEx โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยมหิดลเสนอชื่อส่วนงานเข้าร่วม โครงการ EdPEx จำนวน ส่วนงาน หนึ่งในนั้นคือ คณะเทคนิคการแพทย์

จำนวนบุคลากรสายวิชาการลดลง (HR)
   ในรอบปี 2553 บุคลากรประจำสายวิชาการมีจำนวนลดลงจากเดิม (15 คน) ร้อยละ 33.3 จากการเกษียณอายุราชการตามปกติ (ร้อยละ 6.7) เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (ร้อยละ 19.9) และลาออก (ร้อยละ 6.7) ภาควิชารังสีเทคนิคได้วางแผนจัดหากำลังคนเพื่อทดแทน ขณะนี้จัดหาทดแทนได้ ร้อยละ 60 ยังขาดอีกร้อยละ 40

แหล่งฝึกงาน (H)
สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค เริ่มมีจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ สูงกว่าแผนการรับ (60 คน) ร้อยละ 25 และมีแนวโน้มที่จะศึกษาจนครบ ปีการศึกษา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการจัดการส่งนักศึกษาไปฝึกงานภาคปฏิบัติด้านวิชาชีพ ในแหล่งฝึกงานที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับภาควิชารังสีเทคนิค
ขณะเดียวกัน สถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคจากมหาวิทยาลัยอื่นภายในประเทศ ส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานตามแหล่งฝึกงานภาคปฏิบัติด้านวิชาชีพ ได้แก่ โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้คุณภาพจำนวนมากกว่า 15 แห่ง ทำให้เกิดปัญหาในระหว่างการฝึกงาน

เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา

ทักษะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)

โลกให้ความสนใจกับทักษะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 โดยมีการมองกันว่า ในช่วงศตวรรษที่ 21 มนุษย์ควรมีทักษะต่างๆดังนี้
1.Creativity and Innovation Skills
2.Critical Thinking and Problem Solving Skills
3.Communication and Collaboration Skills
4.Information, Media & Technology Skills
5.Flexibility and Adaptability
6.Initiative and Self Direction
7.Social and Cross-Cultural Skills
8.Productivity and Accountability
9.Leadership and Responsibility
ปัจจัยในภาพกว้างและสำคัญเหล่านี้ จะมีส่วนในการกำหนดให้หลักสูตรรังสีเทคนิคต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไป ท่ามกลางการแข่งขันสูง เพื่อให้ได้บัณฑิตที่อยู่รอดได้ในศตวรรษที่ 21


วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คะแนนแอดมิชชันรังสีเทคนิค 2551-2554

สถิติการรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
สาขารังสีเทคนิค ในระบบ Admission


พ.ศ. 2551
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
6660.05
6197.3
185
30
เชียงใหม่
6793.2
6040.5
239
35
นเรศวร
5970.05
5434.2
3088
31

พ.ศ. 2552
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
6,556.20
6,231.30
247
30
เชียงใหม่
6394.2
5,923.25
205
42
นเรศวร
6,306.75
5,589.95
523
36

พ.ศ. 2553                     
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
19491.05
18061.5
140
30
เชียงใหม่
19590.65
17731.6
178
40
นเรศวร
17963.25
17260.15
383
27

พ.ศ. 2554
max
min
สมัคร
ผ่าน
มหิดล
20877.5
19154.1
306
30
เชียงใหม่
20297.5
18432.5
306
45
นเรศวร
19450
17788.9
302
31




สำหรับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่ในระหว่างการเตรียมการจัดทำหลักสูตรรังสีเทคนิค ซึ่งจะมีความพร้อมในการเปิดรับในปีต่อๆไป

Related Topics: