วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

มคอ1: มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค

๑ ชื่อสาขา/สาขาวิชา
ภาษาไทย         รังสีเทคนิค
ภาษาอังกฤษ       Radiological Technology หรือ Radiologic Technology ก็ได้
๒ ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย           วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขารังสีเทคนิค)
     ชื่อย่อภาษาไทย            วท.บ. (รังสีเทคนิค)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ      Bachelor of Science (Radiologic Technology) or (Radiological Technology)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ        B.Sc. (Radiologic Technology) or (Radiological Technology)
๓ ลักษณะของสาขา/สาขาวิชา
สาขารังสีเทคนิค เป็นสาขาวิชาชีพที่ต้องกระทำต่อมนุษย์ โดยใช้รังสีหรือสารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค การบำบัดโรคหรือการวิจัย รวมทั้งการป้องกันโรค การส่งเสริมและการพื้นฟูสุขภาพ ด้วยวิธีการทางรังสีวิทยา หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสีวิทยา โดยมีเนื้อหาที่บูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ด้วยศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพ
๔ คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 
.) มีความรอบรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และศาสตร์ทางคลินิก ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพรังสีเทคนิค สามารถประยุกต์องค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการปฏิบัติงานในวิชาชีพ และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
.) ตระหนักในบทบาทและมีความรับผิดชอบทั้งบริบท ทาง วิชาการ วิชาชีพและชุมชน
.) สามารถปฏิบัติงานในศาสตร์ต่าง ๆ ทางรังสีเทคนิคได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ กฎ ระเบียบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่กำหนดไว้ในสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ
.) มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความเอื้ออาทร มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพ
.) มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์ ลักษณะและระดับความรุนแรงของปัญหาและจัดการกับปัญหาได้อย่าง เหมาะสม
.) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารและใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศและศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงสามารถใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี
.) มีทักษะการวิจัย การใช้เหตุผลและการแก้ปัญหา ในการตัดสินใจและการปฏิบัติอย่างเหมาะสม
.) สามารถใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และใช้สถิติได้อย่างเหมาะสมในวิชาชีพ
. มาตรฐานผลการเรียนรู้
สาขารังสีเทคนิค กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ ๖ ด้าน ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ และลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขารังสีเทคนิคที่กำหนดไว้ ดังนี้
.๑ คุณธรรม จริยธรรม
..) มีความรู้ ความเข้าใจใน กฎ ระเบียบ จรรยาบรรณวิชาชีพ
..) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและสามารถแก้ไขปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมในสาขาวิชาชีพได้
..) เคารพสิทธิของผู้รับบริการ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปัจเจกบุคคลและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
..) มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละเพื่อส่วนรวม มีจิตอาสา และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นทั้งในการดำรงตนและการปฏิบัติงาน
..) มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่และการกระทำของตนทั้งกายและวาจาซึ่งอาจมีผลกระทบทางศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อส่วนบุคคล และเศรษฐานะ
.๒ ความรู้
..) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ทางด้านรังสีเทคนิค ได้แก่ คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตซึ่งครอบคลุมด้านมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การสื่อสาร กฎหมาย และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
..) รู้หลักการ และทฤษฎีรวมถึงตระหนักในการนำองค์ความรู้สำหรับหลักสูตรวิชาชีพรังสีเทคนิคไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
..) มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเฉพาะด้านในสาขาวิชาชีพรังสีเทคนิค
..) มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ การวิจัย เพื่องานบริการการบริหารและการจัดการองค์กรอย่างต่อเนื่อง
..) ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบข้อบังคับ ที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
.๓ ทักษะทางปัญญา
..) ตระหนักรู้ในศักยภาพและสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตนเพื่อพัฒนาตนเองให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานทางรังสีเทคนิค การเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
..) สามารถสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
..) สามารถนำข้อมูลและหลักฐานไปใช้อ้างอิง และแก้ไขปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
..) สามารถวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพ และที่เกี่ยวข้องรวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน และมีคุณภาพในการให้บริการทางรังสีเทคนิค
..) สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัยและนวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา
..) สามารถพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนไป
.๔ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
..) มีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง
..) สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ ทั้งในบทบาทของผู้นำและของผู้ร่วมงานในกลุ่ม
..) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นอย่างเหมาะสมทั้งส่วนรวมและส่วนตัว
..) มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเอง และองค์กรวิชาชีพ
.๕ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
..) สามารถประยุกต์ใช้หลัก คณิตศาสตร์ สถิติและทักษะการวิจัย สู่การปฏิบัติงานหรือการแก้ปัญหาในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
..) มีทักษะการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนและการนำเสนอรวมทั้งการให้ข้อมูล คำแนะนำและข้อคิดเห็นด้านวิชาชีพรังสีเทคนิค
..) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
.๖ ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ
..) สามารถปฏิบัติงานด้านเทคนิคในงานรังสีวิทยาโดยใช้ทักษะเชิงวิชาชีพในกระบวนการต่าง ๆ ทางรังสีเทคนิค ด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ รวมทั้งแสดงทักษะการสื่อสารอย่างเหมาะสม ตามประกาศ คณะกรรมการวิชาชีพรังสีเทคนิค เรื่อง สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ. .๒๕๕๑
..) สามารถปฏิบัติงานรังสีเทคนิคเพื่อการวินิจฉัยและบำบัดโรคด้วยความเมตตากรุณาและเอื้ออาทร โดยยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย สิทธิผู้ป่ วย ตลอดจนความเป็นปัจเจกบุคคลและความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามประกาศคณะกรรมการวิชาชีพรังสีเทคนิค เรื่อง การรักษาจรรยาบรรณแห่งผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ. .๒๕๔๗
..) สามารถจัดการข้อมูลในการให้บริการทางรังสีเทคนิคอย่างเหมาะสม ตลอดจนใช้ทักษะการวิจัย การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ
..) สามารถประเมินผลกระทบต่าง ๆ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานทางรังสีเทคนิค ทั้งปัจจัยจากสภาวการณ์ของผู้รับบริการ สภาพและคุณภาพของเครื่องมือทางรังสีวิทยาแล้วนำข้อมูลมาปรับปรุงเชิงวิชาชีพอย่างเหมาะสม
..) สามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพ และสามารถแปลผลข้อมูลจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
๖ องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค หรือ สภารังสีเทคนิค
๗ โครงสร้างหลักสูตร
.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
.๒ หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๘๔ หน่วยกิต
.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต                      
ซึ่งในหมวดวิชาเฉพาะจะต้องมีวิชาบังคับเป็นรายวิชาภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริงมีจำนวน หน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า       ๑๒ หน่วยกิต
๘ เนื้อหาสาระสำคัญของสาขา
การกำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของหมวดวิชาเฉพาะ พิจารณาจากการระดมสมองคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิค แบ่งเป็น ๒ กลุ่มหลักดังนี้
๘.๑ กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
๘.๑.๑ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สถิติ หรือ ชีวสถิติ
๘.๑.๒ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา ชีวเคมี
๘.๑.๓ ฟิสิกส์รังสี
๘.๑.๔ การวัดและกำหนดปริมาณรังสี
๘.๑.๕ รังสีชีววิทยา
๘.๑.๖ การป้องกันอันตรายจากรังสี
๘.๑.๗ การดูแลผู้ป่วย การบริหารงานรังสีเทคนิค กฎหมาย จรรยาบรรณ
๘.๑.๘ สัมมนา วิจัย
๘.๒. กลุ่มวิชาชีพ
๘.๒.๑ เครื่องมือ อุปกรณ์ การประกันคุณภาพทางรังสีวิทยา
๘.๒.๒ การสร้างภาพรังสี
๘.๒.๓ รังสีกายวิภาค รังสีพยาธิวิทยา
๘.๒.๔ เทคนิครังสีวินิจฉัยทั่วไป และ เทคนิครังสีวินิจฉัยพิเศษ
๘.๒.๕ เทคนิคเวชศาสตร์นิวเคลียร์
๘.๒.๖ เทคนิครังสีรักษา
๘.๒.๗ การฝึกทักษะทางคลินิก ทั้ง ๓ สาขา
๘.๒.๘ คลินิกสัมพันธ์
๙ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้
๙.๑ กลยุทธ์การสอน
(๑) การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student centered) มุ่งเน้น การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนในการตั้งคำถาม คิดวิเคราะห์เพื่อการค้นหาคำตอบที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ และ จำเป็นในการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยด้วยตนเองเป็นหลัก มีการใช้สื่อและเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมในการ เรียนการสอน ผู้เรียนและผู้สอนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรตามหลักของเหตุและผลอย่างยั่งยืน ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย  โดย การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การมอบหมายงาน การอภิปราย การเรียนจากกรณีศึกษาสถานการณ์จำลอง 
(๒) การสอนแบบมุ่งเน้นสมรรถนะ (competency based) มุ่งเน้นวิธีการปฏิบัติ พร้อม ๆ กับการบูรณาการองค์ความรู้จนผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพจากการเรียนรู้และมีทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพจากการฝึกปฏิบัติงานจริง และได้ใช้เครื่องมือด้วยตนเอง
๙.๒ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย
๙.๒.๑ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ใช้วิธีการประเมินหลากหลายวิธี โดยคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียน และผลการเรียนรู้ที่ต้องการวัด จากการสอบข้อเขียน ประเมินทักษะการปฏิบัติงาน การสอบปากเปล่า การนำเสนอด้วยวาจา ด้วยรูปเล่ม แฟ้มสะสมงาน  รายงาน การสังเกตพฤติกรรม ซึ่งอาจเป็นการประเมินโดยตนเอง ผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
๙.๒.๒ เกณฑ์การวัดและประเมินผลความรู้ อาศัยเกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของกระทรวงศึกษาธิการที่ให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนดเกณฑ์การวัดผล และเกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละรายวิชา โดยมีทั้งแบบอิงเกณฑ์ และแบบอิงกลุ่ม ตามพัฒนาการของผู้เรียนสำหรับการให้ช่วงระดับคะแนนให้เป็นไปตามนโยบายการวัดผลของสถาบันอุดมศึกษา
๑๐ การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้
สถาบันอุดมศึกษาต้องมีระบบและกลไกในการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อ ยืนยันประสิทธิภาพของการประเมินผลว่า ผู้จบการศึกษาทุกคนมีผลการเรียนรู้อย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ ในมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา
๑๐.๑ การทวนสอบระดับรายวิชา
สถาบันจะต้องจัดทำการทวนสอบในระดับรายวิชาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติโดยสถาบัน/ภาควิชา/หลักสูตร เป็นผู้กำหนดระบบและกลไกในการดำเนินงานเกี่ยวกับการทวนสอบ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีการวางแผนและรายงานผลการทวนสอบต่อคณะกรรมการบริหารคณะทุกภาคการศึกษา
๑๐.๒ การทวนสอบระดับหลักสูตร
ดำเนินการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ครอบคลุม ผลการเรียนรู้ทุกด้านตาม
มาตรฐานสาขาพยาบาลศาสตร์อย่างเป็นระบบ เพื่อประเมินความสำเร็จของการผลิตบัณฑิตที่มี
คุณภาพ โดยมีการประเมินจากหลายแหล่ง รวมถึงการประเมินโดยแหล่งฝึกงาน ผู้ใช้บัณฑิต
บัณฑิตใหม่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้สำเร็จการศึกษามีผลการเรียนรู้ไม่น้อย
กว่าที่กำหนดในรายละเอียดหลักสูตร สถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดระบบการทวนสอบเพื่อยืนยันว่าผู้จบการศึกษาทุกคนมีผลการเรียนรู้อย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค ดังนี้
๑)  การทวนสอบจากผู้ใช้บัณฑิต เพื่อประเมินความพึงพอใจในบัณฑิตที่จบการศึกษา เข้าทำงานหรือศึกษาต่อในสถานที่นั้นๆ
๒) การประเมินจากบัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพ ในส่วนของความพร้อมและความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนตามหลักสูตร เพื่อนำมาใช้ในการปรับหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น
๓) มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และผู้ประกอบการ มาประเมินหลักสูตร หรือเป็นอาจารย์พิเศษ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ เรียนรู้ และการพัฒนาองค์ความรู้ของนักศึกษา
๑๑. คุณสมบัติผู้เข้า ศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียนรู้
เป็นไปตามข้อกำหนดของ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ และข้อบังคับของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา
๑๒. คณาจารย์ และบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน
อาจารย์ประจำต้องมีจำนวนและคุณวุฒิเป็นไปตาม
·       ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๘ หรือฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด
·       ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง แนวทางบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด
·       แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ หรือฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด
·       แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับคุณวุฒิอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
·       ประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด
·       ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค เรื่องหลักเกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด
·       ข้อบังคับของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา
๑๓. ทรัพยากรการเรียนการสอนและการจัดการ
ทรัพยากรการเรียนการสอนและการจัดการให้เป็นไปตาม
·       ประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค เรื่องหลักเกณฑ์และแบบประเมินเพื่อการรับรองสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. ๒๕๕๑ หรือฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด
·       ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.๒๕๔๘ (หรือฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุด) ข้อ ๑๔ ว่าด้วยการประกันคุณภาพของหลักสูตร
·       ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. ๒๕๔๘
·       ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙ ว่าด้วยมาตรฐานด้านพันธกิจของการบริหารอุดมศึกษา และมาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้
๑๔. แนวทางการพัฒนาคณาจารย์
๑๔.๑ มีการปฐมนิเทศแนะแนวอาจารย์ใหม่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายของ  สถาบันอุดมศึกษา คณะและหลักสูตรที่สอน
๑๔.๒ เพิ่มพูนทักษะและกลยุทธ์ด้านการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้
๑๔.๓ ส่งเสริมการผลิตผลงานด้านการเรียนการสอน เช่น ตำรา หนังสือ และผลงานด้านการวิจัย ตลอดจนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
๑๔.๔ สนับสนุนให้อาจารย์ประจำทุกคนเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ หรือการฝึกอบรม หรือ การดูงาน เพื่อเป็นการเพิ่มพูน ความรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ อย่างน้อยคนละ ๑ ครั้งต่อปี
๑๔.๕ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ให้สูงขึ้น
๑๕. การประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในสาขารังสีเทคนิค ต้องมีระบบประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๒ และ ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากำหนด โดยมีตัวบ่งชี้การดำเนินงานดังนี้
ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน
๑.  อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร
๒.   มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.๒ ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)
๓.   มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริง (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.๓ และ มคอ.๔ อย่างน้อยก่อนเปิด การสอน ในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา
๔.  จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการ ดำเนินการของประสบการณ์ภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริง (ถ้ามี) ตอบแบบ มคอ.๕ และ มคอ.๖ ภายใน ๓๐ วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุก  รายวิชา
๕.  จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.๗ ภายใน ๖๐ วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา
๖.  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่ กำหนดใน มคอ.๓ และมคอ.๔ (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
๗.  มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือ การประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงาน ใน มคอ.๗ ปีที่แล้ว
๘.  อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน
๙.  อาจารย์ประจำทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
๑๐. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการและ/หรือวิชาชีพไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๕๐ ต่อปี
๑๑. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีคุณภาพ หลักสูตรเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ๓.๕ จากคะแนนเต็ม ๕.๐
๑๒. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อย กว่า ๓.๕ จากคะแนนเต็ม ๕.๐

๑๖. การนำมาตรฐานคุณวุฒิสาขารังสีเทคนิคสู่การปฏิบัติ
กระบวนการที่สถาบันอุดมศึกษานำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิคสู่การพัฒนาหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุง เป็นดังนี้
๑๖.๑) ให้สถาบันพิจารณาความพร้อมและศักยภาพในการบริหารจัดการศึกษาตามหลักสูตรในหัวข้อต่างๆ ที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค
๑๖.๒) สถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย ๕ คน โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย ๒ คน ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๓ คน (โดยในจำนวนนี้ควรเป็นบุคคลภายนอกอย่างน้อย ๑ คน) และผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๑ คน เพื่อดำเนินการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค โดยมีหัวข้อของหลักสูตรอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในแบบ มคอ.๒ รายละเอียดของหลักสูตร
๑๖.๓) การพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชารังสีเทคนิคตามข้อ ๑๖.๒) นั้น ในหัวข้อมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง นอกจากมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิคแล้ว สถาบันอุดมศึกษาอาจเพิ่มเติมมาตรฐานผลการเรียนรู้ซึ่งสถาบันฯ ต้องการให้บัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิคของตนมีคุณลักษณะเด่นหรือพิเศษกว่าบัณฑิตในระดับคุณวุฒิและสาขาวิชาเดียวกันของสถาบันอื่นๆ เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาและปณิธานของสถาบันฯ และเป็นที่สนใจของบุคคลที่จะเลือกเรียนหลักสูตรของสถาบันฯ หรือผู้ที่สนใจจะรับบัณฑิตเข้าทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยให้แสดงแผนที่การกระจายความรับผิดชอบต่อมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) เพื่อให้เห็นว่าแต่ละรายวิชาในหลักสูตรมีความรับผิดชอบหลักหรือความรับผิดชอบรองต่อมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านใด
๑๖.๔) จัดทำรายละเอียดของรายวิชา รายละเอียดของประสบการณ์ภาคปฏิบัติงานในสถานะการณ์จริง (ถ้ามี) ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีหัวข้ออย่างน้อยตาม แบบ มคอ.๓ (รายละเอียดของรายวิชา) และ แบบ มคอ.๔ (รายละเอียดของประสบการณ์ภาคปฏิบัติงานในสถานะการณ์จริง) ตามลำดับ พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่า แต่ละรายวิชาจะทำให้เกิดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในเรื่องใด สถาบันฯต้องมอบหมายให้ภาควิชา/สาขาวิชา จัดทำรายละเอียดของรายวิชาทุกรายวิชา รวมทั้งรายละเอียดของประสบการณ์ภาคปฏิบัติงานในสถานะการณ์จริง (ถ้ามี) ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการเปิดสอน
๑๖.๕) สถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอสภาสถาบันฯ เพื่ออนุมัติรายละเอียดของหลักสูตรซึ่งได้จัดทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้วก่อนเปิดสอน โดยสภาสถาบันฯควรกำหนดระบบและกลไกของการจัดทำและอนุมัติรายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคปฏิบัติงานในสถานะการณ์จริง(ถ้ามี) ให้ชัดเจน
๑๖.๖) สถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอรายละเอียดของหลักสูตร ซึ่งสภาสถาบันฯอนุมัติให้เปิดสอนแล้วให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่สภาสถาบันฯอนุมัติ
๑๖.๗) เมื่อสภาสถาบันฯ อนุมัติตามข้อ ๕) แล้วให้มอบหมายอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคปฏิบัติงานในสถานะการณ์จริง (ถ้ามี) ให้บรรลุ มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของสาขา/สาขาวิชา
๑๖.๘). เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน การประเมินผลและการทวนสอบผลการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชาและประสบการณ์ภาคปฏิบัติงานในสถานะการณ์จริงในแต่ละภาคการศึกษาแล้ว ให้อาจารย์ผู้สอนจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา ซึ่งรวมถึงการประเมินผล และการทวนสอบผลการเรียนใน รายวิชาที่ตนรับผิดชอบพร้อมปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยมีหัวข้ออย่างน้อยตามแบบ มคอ.๕ (รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา) และแบบ มคอ.๖ (รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคปฏิบัติงานในสถานะการณ์จริง) ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประมวล/วิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินการ และจัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรในภาพรวมประจำปีการศึกษาเมื่อสิ้นปีการศึกษา โดยมีหัวข้ออย่างน้อยตามแบบ มคอ.๗ (รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร) เพื่อใช้ในการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์การสอน กลยุทธ์การประเมินผลและแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และหากจำเป็นจะต้องปรับปรุงหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนก็สามารถกระทำได้
๑๖.๙) เมื่อครบรอบหลักสูตร ให้จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร โดยมีหัวข้อและรายละเอียดอย่างน้อยตามแบบ มคอ.๗  (รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร) เช่นเดียวกับการรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษา และวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการหลักสูตรในภาพรวม ว่าบัณฑิตบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ รวมทั้งให้นำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและ/หรือการดำเนินการของหลักสูตรต่อไป
๑๗.การเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ ซึ่งบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อการเผยแพร่
เพื่อประโยชน์ต่อการกำกับดูแลคุณภาพการจัดการศึกษาของคณะกรรมการการอุดมศึกษา การรับรองคุณวุฒิเพื่อกำหนดอัตราเงินเดือนในการเข้ารับราชการของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)การรับรองคุณวุฒิเพื่อการศึกษาต่อหรือทำงานในต่างประเทศ และเป็นข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการ สังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะสามารถตรวจสอบหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานได้โดยสะดวก ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ ซึ่งบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อการเผยแพร่ (Thai Qualifications Register: TQR) เมื่อสถาบันฯได้เปิดสอนไปแล้วอย่างน้อยครึ่งระยะเวลาของหลักสูตรตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
๑๗.๑) เป็นหลักสูตรที่ได้รับอนุมัติจากสภาสถาบันอุดมศึกษาก่อนเปิดสอนและได้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่สภาสถาบันอุดมศึกษาอนุมัติหลักสูตรนั้น
๑๗.๒) ผลการประเมินคุณภาพภายในตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายในจะต้องมีคะแนนเฉลี่ยระดับดีขึ้นไปต่อเนื่องกัน ๒ ปี นับตั้งแต่เปิดสอนหลักสูตรที่ได้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค ที่ได้กำหนดตัวบ่งชี้และ/หรือเกณฑ์การประเมินเพิ่มเติม
ผลการประเมินคุณภาพจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิคกำหนด จึงจะได้รับการเผยแพร่
๑๗.๓) หลักสูตรใดที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการปรับปรุงตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาจะกำหนดจากผลการประเมินต่อไป
๑๗.๒) ผลการประเมินคุณภาพภายในตามตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายในจะต้องมีคะแนนเฉลี่ยระดับดีขึ้นไปต่อเนื่องกัน ๒ ปี นับตั้งแต่เปิดสอนหลักสูตรที่ได้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค ที่ได้กำหนดตัวบ่งชี้และ/หรือเกณฑ์การประเมินเพิ่มเติมผลการประเมินคุณภาพจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิคกำหนด จึงจะได้รับการเผยแพร่
๑๗.๓) หลักสูตรใดที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการปรับปรุงตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาจะกำหนดจากผลการประเมินต่อไป
     ๑๗.๔) กรณีหลักสูตรใดได้รับการเผยแพร่แล้ว สถาบันอุดมศึกษาจะต้องกำกับดูแลให้มีการรักษาคุณภาพให้มีมาตรฐานอยู่เสมอ โดยผลการประเมินคุณภาพภายในต้องมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไปหรือเป็นไปตามที่มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชานั้นกำหนดทุกปีหลังจากได้รับการเผยแพร่ หากต่อมาปรากฏว่าผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาใดไม่เป็นไปตามที่กำหนด ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาถอนการเผยแพร่หลักสูตรนั้น จนกว่าสถาบันอุดมศึกษานั้นจะได้มีการปรับปรุงตามเงื่อนไขของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น