วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ถาม-ตอบ รังสีเทคนิคชุด1

สาขารังสีเทคนิคเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?
การเรียนการสอนในสาขารังสีเทคนิคนั้น มุ่งที่จะสร้างบัณฑิตเข้าสู่วิชาชีพรังสีเทคนิค ซึ่งเป็นการใช้รังสีทางการแพทย์ทั้งในด้านการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยสรุป การเรียนในสาขารังสีเทคนิค นักศึกษาจะต้องเรียนรู้และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในด้านรังสีวินิจฉัย ด้านรังสีรักษา และด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ในด้านรังสีวินิจฉัยเป็นการใช้รังสีในการวินิจฉัยโรค ตัวอย่างคือ การถ่ายภาพเอกซเรย์แบบธรมมดา การเอกซเรย์แบบที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายภาพ 3 มิติของอวัยวะต่างๆ เป็นต้น ด้านรังสีรักษา เรียนการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อรักษาโรค เช่น โรคมะเร็ง ส่วนด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์เรียนการให้สารรังสีเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อถ่ายภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายรวมถึงการรักษาโรค

นักเรียนมัธยมปลายจากทั่วประเทศ เข้าเยี่ยมชมภาควิชารังสีเทคนิค
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งกระทำเป็นประจำทุกปี


ถ้าเรียนสาขารังสีเทคนิค ระหว่างเรียนและทำงาน รังสีจะมีผลกระทบต่อสุขภาพตนเองมากน้อยแค่ไหน ?

ในระหว่างการเรียนนั้น นักศึกษาจะได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีพื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ กายวิภาค การจัดท่า การคำนวณปริมาณรังสี ฯลฯ และที่สำคัญและขาดไม่ได้ คือ การป้องกันอันตรายจากรังสี เบื้องต้นนักศึกษาจะต้องเรียนจากเครื่องเอกซเรย์จำลองซึ่งไม่ใช้เอกซเรย์ จนมีความรู้และเข้าใจ มีทักษะในการปฏิบัติงานเพียงพอระดับหนึ่ง จึงจะได้เรียนการใช้เครื่องเอกซเรย์จริงๆ แต่นักศึกษาจะต้องมีอุปกรณ์ในการวัดรังสีประจำตัวติดกับตัวอยู่ตลอดเวลาที่เรียนในภาคปฏิบัติและฝึกงาน เป็นไปตามมาตรฐานด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี ดังนั้นความเสี่ยงในเรื่องผลกระทบจากรังสีจึงน้อยมากหรือไม่มีเลย นอกจากนี้ ยังมีความรู้พื้นฐานด้านการแพทย์เพียงพอที่จะเป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับบุคคลใกล้ชิดและคนรอบข้างได้ด้วย


นักศึกษาไทยและนักศึกษาภูฏาน กำลังฝึกการจัดท่าผู้ป่วย
ด้วยเครื่องเอกซเรย์จำลองเสมือนจริงทุกประการ
แต่ไม่มีเอกซเรย์ มีแต่แสงสว่างที่แทนเอกซเรย์

สำหรับผู้ทำงานในด้านรังสีเทคนิค ที่ผ่านกระบวนการเรียนที่ได้มาตรฐานมาแล้ว จะต้องสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค จากคณะกรรมการวิชาชีพรังสีเทคนิค จึงจะสามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่รับรองได้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคมีโอกาสน้อยมาก หรือไม่มีเลยที่จะได้รับผลกระทบจากรังสี และไม่เฉพาะตัวนักรังสีเทคนิคเท่านั้นที่จะปลอดภัยจากรังสี ผู้ป่วยที่มารับบริการด้านรังสีจากนักรังสีเทคนิคก็จะปลอดภัยจากรังสีด้วยเช่นเดียวกัน


นักรังสีเทคนิค กำลังใช้เครื่อง Bone Densitometer
เพื่อตรวจมวลกระดูกของผู้ป่วย


เรียนรังสีทำให้เป็นหมันหรือไม่??

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น