วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558

เมื่อวันอังคารที่ ธันวาคม 2553 ผมได้มีโอกาสไปฟังการเสวนาเรื่อง การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ค.ศ. 2015 ที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วงเสวนาประกอบด้วย ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล  นายมนัสวี ศรีโสดาพล เอกอัครราชฑูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำอาเซียน มีประเด็นที่น่าสนใจ และมีผลกระทบโดยตรงอย่างแรงต่อ สถาบันอุดมศึกษาของไทย และยังรวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไปด้วย จึงอยากเก็บมาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อให้ชาวเราได้รับทราบว่า ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community คืออะไรมีอะไรบ้างที่เป็นผลกระทบต่อชาวเรา?

ASEAN Community คืออะไร
อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก
 เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (.. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558


ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก เสา
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
  2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย              
          ()มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020 
         ()ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
          (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
          (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงา
     กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
      ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
  3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ผลกระทบมีอะไรบ้าง?
1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆ

นี่คือทั้งหมดที่ได้มีการเสวนากันในวันนั้น เลือกเอาเฉพาะประเด็นสำคัญ ชัดๆมาเล่าให้ฟังครับ ส่วนตัวผม เรื่องนี้ ได้นำเสนอในที่ประชุมภาควิชารังสีเทคนิคแล้ว เพื่อเป็นข้อมูล input ให้อาจารย์ได้รับทราบในเบื้องต้น และจะได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคในโอกาสต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

RT Consortium ครั้งที่ 7


ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับอนุมัติจัดสัมมนาสถาบันผู้ผลิตบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค ครั้งที่  7  ระหว่างวันที่  15-16  กรกฎาคม  2553 ณ  โรงแรมรอยัลซิตี้ (ปิ่นเกล้า) กรุงเทพมหานคร  ในการนี้ทางภาควิชาฯ   ได้เรียนเชิญประธานคณะกรรมการวิชาชีพ ประธานอนุกรรมการวิชาชีพฯสาขารังสีเทคนิค ผู้แทนนายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย และผู้แทนโรงเรียนรังสีเทคนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เข้าร่วมสัมมนาด้วย  สถาบันผู้ผลิตบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค 7 สถาบัน ประกอบด้วย
1.ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.ภาควิชารังสีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.ภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
4.ภาควิชารังสีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5.ภาควิชารังสีเทคนิค  คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.สาขาวิชารังสีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
7.ภาควิชารังสีเทคนิค  คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การสัมมนาครั้งนี้ มีจำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งหมด  33  ท่าน  
 การสัมมนา
เริ่มด้วย ศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์  ปรัชชญาสิทธิกุล  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานเปิดการสัมมนา ได้กล่าวต้อนรับและเปิดการสัมมนา เสร็จแล้วได้ถ่ายรูปร่วมกัน

 ถัดจากนั้น รศ.มานัส มงคลสุข ได้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม และนำเข้าสู่การสัมมนาครั้งที่ 7 โดยได้กล่าวทบทวน สรุปในภาพรวมของผลการประชุมสัมมนาในครั้งที่ 6 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งครั้งนั้นได้พิจารณา มคอ1 ซึ่งประกอบด้วย 17 หัวข้อใหญ่ๆ แต่ที่ประชุมมีเวลาพิจารณาเพียง 3 หัวข้อเท่านั้น ดังนี้

หัวข้อที่ 4. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ได้ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 8 ข้อ
หัวข้อที่ 5. มาตรฐานผลการเรียนรู้ ได้รายละเอียดทั้งหมด 6 ข้อใหญ่ ประกอบด้วย 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ
หัวข้อที่ 8. เนื้อหาสาระสำคัญของสาขา ได้ข้อสรุปเฉพาะหัวข้อที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญเท่านั้น ยังไม่ได้มีการพูดถึงรายละเอียด
          ซึ่งที่ประชุมครั้งที่ 7 รับรองร่าง หัวข้อที่ 4, 5 และ 8 โดยไม่มีข้อแก้ไข
ถัดจากนั้น ที่ประชุมตกลงที่จะร่วมกันพิจารณา มคอ1 หัวข้อที่ 8 ให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น และได้แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรังสีวินิจฉัย กลุ่มรังสีรักษา และกลุ่มเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (สำหรับกลุ่มพื้นฐานวิชาชีพจะพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป) โดยมี
เป้าหมายและความคาดหวังที่ต้องการ คือ
·       รายชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำ ขอบเขตเนื้อหาขั้นต่ำ ความสอดคล้องกับสมรรถนะวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค
·       การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

          ศาลายาทัวร์
          ช่วงเวลาเย็น ภาควิชารังสีเทคนิค ได้นำคณาจารย์จาก 6 สถาบัน เยี่ยมชมบรรยากาศโดยรอบ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และเข้าเยี่ยมชม ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการสาขารังสีเทคนิค ณ อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ ด้วย

ตอนเย็น ร่วมรับประทานอาหารและร้องเพลงสังสรรค์ที่ร้าน "สายลม-สายน้ำ" อยู่ริมคลองทวีวัฒนา ด้านหน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สัมมนาวันที่สอง (16 กรกฎาคม 2553)
          ทั้งสามกลุ่มใช้เวลาครึ่งวันเช้าเพื่อระดมความคิดเห็นในกลุ่ม ในช่วงเวลาบ่าย ทั้งสามกลุ่มได้เข้ามารวมเป็นกลุ่มเดียวกัน และได้นำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม และรับฟังข้อคิดเห็นย้อนกลับ
          ที่ประชุม ร่วมกันพิจารณากิจกรรม/ภาระงานที่จะต้องทำในการสัมมนาครั้งต่อไป และพิจารณาเสนอชื่อสถาบันที่จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมครั้งที่ 8
          ปิดการสัมมนา ก่อนปิดการสัมมนา รศ.มานัส มงคลสุข หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคมหิดล ได้มอบของที่ระลึกให้กับสถาบันต่างๆที่เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย