ในมุมมองของภาควิชารังสีเทคนิค มหิดล มีการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆในภาพกว้าง นอกเหนือจากแนวโน้มความก้าวหน้าของศาสตร์ทางด้านรังสีที่ใช้กับมนุษย์ ที่มีผลกระทบต่อการผลิตบัณฑิตทางด้านรังสีเทคนิค ซึ่งในกระบวนการผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคนั้น ใช้ Deming cycle โดยมีการวางแผนงานหรือออกแบบกระบวนการ (P: plan) แล้วนำไปปฏิบัติ (D: do) มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน (C: check) ทบทวนผลที่เกิดว่าเป็นไปตามแผนงานมากน้อยแค่ไหน ตรงตามเป้าหมายไหม มีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงบ้าง ก็จะดำเนินการปรับปรุง (A: act) การดำเนินการเป็นวงรอบไปเรื่อยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (CQI: continuous improvement) ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบของบัณฑิตรังสีเทคนิค ในด้านกระบวนการผลิต อัตตลักษณ์หรือหน้าตาของบัณฑิต มีดังนี้
การประเมินสถาบัน (Accreditation)
ในปี 2551คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ประกาศใช้สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิคอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้จรรยาบรรณวิชาชีพมาก่อนหน้านี้ในปี 2547 แล้ว ต่อมามีการประกาศให้สถาบันผู้ผลิตนักรังสีเทคนิคทุกแห่ง ต้องขอรับการประเมินสถาบัน โดยไม่มีข้อยกเว้น ภายในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งภาควิชารังสีเทคนิค มหิดล ได้รับการรับรองเป็นสถาบันแรกตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 และสถาบันที่ได้รับการรับรองต่อๆมาคือ เชียงใหม่ นเรศวร
ในปี 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF:Hed เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ โดยที่กรอบนี้มุ่งเน้นเป้าหมายการจัดการศึกษาที่ผลการเรียนรู้ (learning outcomes) ของนักศึกษาในแต่ละระดับ ส่งผลกระทบต่อสถาบันผู้ผลิตทุกแห่ง ทุกสาขา รวมทั้งสาขารังสีเทคนิค ในหลายประการ เช่น รายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา การรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร เป็นต้น นำไปสู่การปรับหลักสูตรที่มีอยู่ให้สอดคล้องตามกรอบ TQF:Hed .ให้เสร็จภายในปี 2555
ในปี 2552 กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ให้สถานศึกษาทุกแห่งทุกระดับเป็น "สถานศึกษา 3ดี (3D)" โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย (Democracy) ด้านคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)
EdPEx หรือ TQA
สำนักงานคณะกรรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศเทียบได้ในระดับสากล จึงนำเครื่องมือคุณภาพ “The Baldrige National Quality Program : Education Criteria for Performance Excellence” หรือ “รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA)” เข้ามาใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการ “โครงการนำร่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) ” และสกอ. ได้เชิญชวนให้มหาวิทยาลัยพิจารณาเข้าร่วมโครงการ EdPEx โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยมหิดลเสนอชื่อส่วนงานเข้าร่วม โครงการ EdPEx จำนวน 9 ส่วนงาน หนึ่งในนั้นคือ คณะเทคนิคการแพทย์
จำนวนบุคลากรสายวิชาการลดลง (HR)
ในรอบปี 2553 บุคลากรประจำสายวิชาการมีจำนวนลดลงจากเดิม (15 คน) ร้อยละ 33.3 จากการเกษียณอายุราชการตามปกติ (ร้อยละ 6.7) เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (ร้อยละ 19.9) และลาออก (ร้อยละ 6.7) ภาควิชารังสีเทคนิคได้วางแผนจัดหากำลังคนเพื่อทดแทน ขณะนี้จัดหาทดแทนได้ ร้อยละ 60 ยังขาดอีกร้อยละ 40
แหล่งฝึกงาน (H)
สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขารังสีเทคนิค เริ่มมีจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สูงกว่าแผนการรับ (60 คน) ร้อยละ 25 และมีแนวโน้มที่จะศึกษาจนครบ 4 ปีการศึกษา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการจัดการส่งนักศึกษาไปฝึกงานภาคปฏิบัติด้านวิชาชีพ ในแหล่งฝึกงานที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับภาควิชารังสีเทคนิค
ขณะเดียวกัน สถาบันผู้ผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคจากมหาวิทยาลัยอื่นภายในประเทศ ส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานตามแหล่งฝึกงานภาคปฏิบัติด้านวิชาชีพ ได้แก่ โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้คุณภาพจำนวนมากกว่า 15 แห่ง ทำให้เกิดปัญหาในระหว่างการฝึกงาน
รวมถึงแหล่งฝึกงานมีการคิดค่าใช้จ่ายในการรับนักศึกษาเข้าฝึกงานภาคปฏิบัติด้านวิชาชีพในอัตราที่สูงขึ้น
เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา
โลกให้ความสนใจกับทักษะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2000 โดยมีการมองกันว่า ในช่วงศตวรรษที่ 21 มนุษย์ควรมีทักษะต่างๆดังนี้
1.Creativity and Innovation Skills
2.Critical Thinking and Problem Solving Skills
3.Communication and Collaboration Skills
4.Information, Media & Technology Skills
5.Flexibility and Adaptability
6.Initiative and Self Direction
7.Social and Cross-Cultural Skills
8.Productivity and Accountability
9.Leadership and Responsibility
ปัจจัยในภาพกว้างและสำคัญเหล่านี้ จะมีส่วนในการกำหนดให้หลักสูตรรังสีเทคนิคต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไป ท่ามกลางการแข่งขันสูง เพื่อให้ได้บัณฑิตที่อยู่รอดได้ในศตวรรษที่ 21
Related Topics:
ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21
Transformative Learning ล่องคลองมหาสวัสดิ์
ผลกระทบประชาคมอาเซียน 2558
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21
Transformative Learning ล่องคลองมหาสวัสดิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น